วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

unit 7-8


บทที่ 7
บทบาทหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ

1. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ
2. หลักการจัดองค์กรธุรกิจ
3. การบริหารบุคลากรในองค์กร
4. จริยธรรมความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5. บทบาทหน้าที่ขององค์กรธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
6. บทบาทขององค์กรธุรกิจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม


หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ


หน้าที่ทางการประกอบธุรกิจ

หน้าที่หรือกิจกรรมที่ผู้ประกอบการพึงปฎิบัติในการประกอบธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญ ประกอบด้วย
1. หน้าที่ทางการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การผลิตแลปฎิบัติการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การตลาด การบัญชี การเงิน ระบบสารสนเทศ
2. หน้าที่ทางการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคคลเข้าทำงาน การสั่งการ การควบคุม
3. หน้าที่ในการสร้างคุณค่าและความพึงพอใจ ได้แก่ การสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ คุณภาภพ ความพงพอใจ นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างเครือข่ายความพึงบพอใจให้กับลูกค้า


หลักการจัดองค์กร
1. หลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Work)
2. การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว (Unity of Command
3. การสร้างสายการบังคับบัญชา (Chain of Command)
4. การมอบหมายอำนาจหน้าที่ (Delegation of Aurthority
5. ช่วงการควบคุม (Spand of Control)
6. การมีวัตถุประสงค์เดียวกัน (Unit of Objective)


การบริหารบุคลากรในองค์กร
ระบบการสรรหาบุคคล แบ่งได้เป็น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบคุณธรรม ระบบอุปถัมถ์ และ
ระบบอาวุโส กระบวนการบริหารงานบุคคล เริ่มต้นจากการวางแผนกำลังคน การสรรหาและรับสมัคร การคัดเลือกบุคลากร การบรรจุแต่งตั้ง การฝึกอบรมและพัฒนา การประเมินผลการปฎิบัติงาน การจ่ายผลตอบแทน การโยกย้ายหรือการเลื่อนขั้น การเลือกจ้าง/การให้ออกจากงาน

จริยธรรมความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม แบ่งได้ 4 ระดับ คือ ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบทางกฎหมาย ความรับผิดชอบทางจริยธรรม ความรับผิดชอบในการใช้ดุลพินิจ องค์กรธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม

ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียโดยตรง
ลูกจ้าง ลูกค้า คู่แข่ง เจ้าหนี้ ตัวแทนจำหน่าย ผู้จัดจำหน่าย ผู้ถือหุ้น/เจ้าของ
ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียโดยอ้อม
ชุมชน ท้องถิ่น รัฐบาล องค์กรแรงงาน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สื่อสารมวลชน สมาคมทางการค้าต่าง ๆ

บทบาทหน้าที่ขององค์กรธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บทบาทขององค์กรธุรกิจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม

1. บทบาทต่อลูกค้า เช่น ขายสินค้าในราคายุติธรรม ให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าสภาวะใด ละเว้นการกระทำที่จะควบคุมการตัดสินใจของลูกค้า ฯลฯ
2. บทบาทต่อคู่แข่งขัน เช่น พึงละเว้นจากการกลั่นแกล้ง ให้ร้านป้ายสี , ให้ความร่วมมือในการแข่งขัน ฯลฯ
3. บทบาทต่อหน่วยงานราชการ เช่น ทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา ปฎิบัติตามกฎหมาย ละเว้นการติดสินบน ฯลฯ
4. บทบาทต่อพนักงาน ลูกจ้าง ได้แก่ ให้ความเป็นธรรมในการปกครอง ให้คำแนะนำ เอาใจใส่ในสวัสดิการ สนับสนุน ฯลฯ
5. บทบาทของธุรกิจต่อสังคม เช่น พึงละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชน ฯลฯ

บทบาทขององค์กรธุรกิจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหารุนแรงการจะบังคับให้ธุรกิจเลิกผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแล้วกลับไปใช้ชีวิตแบบธรรมชาติหรือกึ่งธรรมชาตินั้นคงทำได้ยาก ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องพยายามเสนอทางเลือกให้กับสาธรณชนอีกทางด้วย ธุรกิจสีเขียว หรืออุตสาหกรรมที่ผลิตแต่สินค้าที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการะบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษเพียงเล็กน้อยหรือปราศจากมลพิษ ผู้ผลิตที่มุ่งทำธุรกิจที่ช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเริ่มพิจารณาแนวทางการทำธุรกิจของตนเองนับแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์นี้จะมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป้าหมายของการรักษาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ การออกแบบให้มีการป้องกันการเกิดของเสียหรือเหลือทิ้ง และ การออกแบบเพื่อให้มีการจัดการวัสดุที่ดีกว่าเดิม



บทที่ 8
ภาษีและกฎหมายธุรกิจ
1. ภาษีอากร
2. กฎหมายการจัดตั้งกิจการ
3. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
4. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
5. กฎหมายประกันสังคม

ภาษีอากร
ภาษีอากรถือเป็นภาระหน้าที่ที่ผู้ประกอบลการต้องจ่ายให้แก่รัฐเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศเป็นส่วนรวม ทั้งยังเอื้ออำนวยต่อการเติบโตของตลาดไม่มากก็น้อยอีกด้วย ภาษีที่เกี่ยวกับธุรกิจ เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ฯลฯ

กฎหมายการจัดตั้งกิจการ
รูปแบบในการประกอบธุรกิจนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด กฎหมายการจัดตั้งกิจการ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้มีการจดทะเบียนการจัดตั้งของรูปแบบธุรกิจ คือ
1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว
- จดทะเบียนการค้า
1.2 ห้างหุ้นส่วน
- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
1.3 บริษัท
- จัดทำเป็นหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้เป็นลูกจ้างไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ซึ่งบัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง ค่าจ้างที่เหมาะสมกับการใช้แรงงาน

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่ายคือ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถทำข้อตกลงในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้ รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้ยุติลงโดยรวดเร็วและด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด กฎหมายประกันสังคม
การประกันสังคม เป็นการให้หลักประกันและความคุ้มครองแก่พนักงานในกรณีว่างงาน การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน และกองทุนเลี้ยงชีพ กฎหมายประกันสังคมใช้บังคับในกิจการที่มีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ ได้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบฝ่ายละเท่าๆกัน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างในเวลาทำงานปกติของผู้ประกันตน กรณีประสบเหตุอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพล